วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 9

ให้นักศึกษา ดูทีวีในแหล่งความรู้โทรทัศน์สำหรับเลือกดูคนละหนึ่งเรื่อง การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน  ให้สรุปเป็นประเด็นสำคัญ ที่นักศึกษาเห็นว่าสำหรับการจัดการเรียนการสอน และหากนักศึกษาไปฝึกสอนในสถานศึกษาที่ได้ดูจากทีวี  นักศึกษาจะเตรียมตัวออกสังเกตการสอนว่า  อาชีพครูจะต้องมีคุณสมบัติที่ดีอย่างไร และจะทำให้เกิดกับตัวนักศึกษาได้อย่างไร  เขียนอธิบายขยายความลงในบล็อกของนักศึกษาในกิจกรรมที่ 9 (โทรทัศน์สำหรับครูอยู่ในแหล่งเรียนรู้สำหรับนักศึกษาครู เลือกพยายามอย่าให้ซ้ำกัน หรือซ้ำกันแต่ให้มุมมองที่แตกต่างกัน)

จากการศึกษาโทรทัศน์ครู  เรื่อง 15ปีไม่มีเบื่อ สำคัญที่เตรียมการสอน จึงสรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้
                จากการที่ได้ศึกษาจาการดูโทรทัศน์เรื่อง 15ปีไม่มีเบื่อ สำคัญที่เตรียมการสอน แล้วทำให้มีความตระหนักถึงการเป็นครูที่กระตือรือร้นมากขึ้นในด้านการเตรียมการสอนที่ดีการค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆตลอดเวลาเพื่อที่ได้นำไปใช้ในการสอนที่ไม่น่าเบื่อ  โดยที่การฝึกฝน  การหาเทคนิคการสอนเช่น การอ่านหนังสือเทคนิคการสอนของต่างประเทศ  การเข้าฝึกอบรมการทำกิจกรรมซึ่งจะสามารถมีได้ตลอดเวลาเพื่อจะได้พัฒนานักเรียนให้ได้รับความรู้อย่างเต็มที่ 
หากต้องไปฝึกสอนที่สถานศึกษาดังกล่าวจะต้องเตรียมตัวในการสอนอย่างมากจัดเรียงลำดับการสอนให้เป็นระบบเพื่อจะได้พัฒนานักเรียนได้อย่างเต็มที่และนักเรียนจะไม่สับสนด้วยซึ่งในการเขียนแผนการสอนก็มีความจำเป็นที่จะต้องสอดคล้องกับมาตรฐานของหลักสูตร และสอดคล้องกับตัวชี้วัดด้วยซึ่งจะทำให้การสอนเป็นไปอย่างง่ายไม่ตะกุกตะกักและนักเรียนก็สามารถเชื่อมโยงความรู้แล้ววิเคราะห์ความรู้ได้จนสรุปความรู้ได้
                คุณสมบัติของครูจะต้องมีลักษณะของความรับผิดชอบคิดและหาวิธีการสอนใหม่ที่จะมาสอนนักเรียน เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน  ซึ่งครูก็ต้องมีสมบัติในการวิเคราะห์ตัวของนักเรียนที่มีความแตกต่างกันในด้านความสามารถ  และครูจะต้องรู้จักการเตรียมตัวการสอนและจัดเรียงเนื้อหาให้เป็นลำดับและตรงกับมาตรฐานหลักสูตรและตัวชี้วัดซึ่งจะต้องมีการพัฒนาตามคุณลักษณะ และครูจะต้องรู้จักการหาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ กล้าที่จะทดลองและพัฒนาการสอนอยู่เสมอ

ครูจะต้องมีคุณสมบัติ
1. ความมีระเบียบวินัย หมายถึง ความประพฤติ ทั้งทางกายและวาจาและใจ ที่แสดงถึงความเคารพในกฎหมาย ระเบียบประเพณีของสังคม และความประพฤติที่สอดคล้องกับอุดมคติหรือความหวังของตนเอง โดยให้ยึดส่วนรวมสำคัญกว่าส่วนตัว
2. ความซื่อสัตย์สุจริตและความยุติธรรม หมายถึง การประพฤติที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ไม่เอาเปรียบ หรือคดโกงผู้อื่นหรือส่วนรวม ให้ยึดถือหลักเหตุผล ระเบียบแบบแผนและกฎหมายของสังคมเป็นเกณฑ์
3. ความขยัน ประหยัด และยึดมั่นในสัมมาอาชีพ หมายถึง ความประพฤติที่ไม่ทำให้เสียเวลาชีวิตและปฏิบัติกิจอันควรกระทำให้เกิดประโยชน์แก่ตนและสังคม
4. ความสำนึกในหน้าที่และการงานต่าง ๆ รวมไปถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ หมายถึง ความประพฤติที่ไม่เอารัดเอาเปรียบสังคมและไม่ก่อความเสียหายให้เกิดขึ้นแก่สังคม
5. ความเป็นผู้มีความคิดริเริ่ม วิจารณ์และตัดสินอย่างมีเหตุผล หมายถึง ความประพฤติในลักษณะสร้างสรรค์และปรับปรุงมีเหตุมีผลในการทำหน้าที่การงาน
6. ความกระตือรือร้นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีความรักและเทิดทูน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หมายถึง ความประพฤติที่สนับสนุนและให้ความร่วมมือ ในการอยู่ร่วมกันโดยยึดผลประโยชน์ของสังคมให้มากที่สุด
7. ความเป็นผู้มีพลานามัยที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ หมายถึง ความมั่นคงและจิตใจ รู้จักบำรุงรักษากายและจิตใจให้สมบูรณ์ มีอารมณ์แจ่มใสมีธรรมะอยู่ในจิตใจอย่างมั่นคง
8. ความสามารถในการพึ่งพาตนเองและมีอุดมคติเป็นที่พึ่ง ไม่ไว้วานหรือขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นโดยไม่จำเป็น
9. ความภาคภูมิและการรู้จักทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม และทรัพยากรของชาติ หมายถึง ความประพฤติที่แสดงออกซึ่งศิลปะและวัฒนธรรมแบบไทย ๆ มีความรักและหวงแหนวัฒนธรรมของตนเองและทรัพยากรของชาติ
10. ความเสียสละ และเมตตาอารี กตัญญูกตเวที กล้าหาญ และความสามัคคีกัน หมายถึง ความประพฤติที่แสดงออกถึงความแบ่งปัน เกื้อกูลผู้อื่น ในเรื่องของเวลากำลังกายและกำลังทรัพย์
การเป็นครูที่ "ดี" นั้น ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติต่าง
1. ปรับปรุงการเรียนการสอนให้ทันสมัยและเหมาะสมอยู่เสมอ
2. มีความปรารถนาที่จะช่วยเหลือผู้เรียนให้ประสบความสำเร็จในทุกด้าน
3. มีบุคลิกภาพที่ดี
4. มีความรู้ความชำนาญในงานที่สอน
5. มีความอดทน
6. มีลักษณะซึ่งผู้เรียนให้ความไว้วางใจ
7. มีความกระตือรือร้นในการถ่ายทอดความรู้
8. มีความจริงใจ
9. มีลักษณะเป็นผู้นำ

กิจกรรมที่ 8

เรื่อง วัฒนธรรมองค์การ(Organaization Culture)
ให้ นักศึกษา สรุปความหมาย วัฒนธรรมองค์การ
แนวคิดเกี่ยวกับองค์การ
แนวทางพัฒนาองค์การ
กลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์การ
แนวทางการนำวัฒนธรรมองค์การไปใช้
โดยให้นักศึกษาศึกษาค้นคว้าโดยใช้ Internet และเอกสารห้องสมุดให้ตรงกับหัวเรื่องตามที่อาจารย์กำหนดให้มา สรุปเป็นความคิดของนักศึกษาและอ้างอิงแหล่งที่ค้นคว้าด้วย
สรุป วัฒนธรรมองค์การ คือ
วัฒนธรรมองค์การเป็นสิ่งสร้างขึ้นในองค์การ ซึ่งมีทั้งสิ่งที่แสดงออกอย่างชัดแจ้ง สามารถจับต้องได้ และสิ่งที่ซ่อนอยู่ภายในวัฒนธรรมเป็นระบบคุณค่าและความเชื่อร่วมกันของ องค์การซึ่งจะกำหนดพฤติกรรของสมาชิก ทั้งในเรื่องการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมขององค์การและกระบวนการในการทำงานองค์การทุกองค์การจะสร้างและพัฒนาวัฒนธรรมของตนเองและแสดงถึงวัฒนธรรมผ่าน การทำงาน การประพฤติปฏิบัติของสมาชิกในองค์การ ตลอดจนผ่านโครงสร้างองค์การ การออกแบบและจัดสำนักงานขององค์การ
แนวคิดเกี่ยวกับองค์การ
แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์การ 2 แนวทางหลัก คือ
แนวทางที่ 1 วัฒนธรรม เป็นตัวแปรตัวหนึ่ง
1. วัฒนธรรมองค์การเป็นเพียงตัวแปร ตัวหนึ่งในบรรดาตัวแปรหลายตัวในองค์การ
2. มีความเชื่อพื้นฐานภายใต้ปรัชญา ปฏิฐานนิยม (Positivism) ส่งผลให้
2.1 เน้นวิธีการศึกษาวิจัยเชิง ปริมาณ (quantitative research)
2.2 มองวัฒนธรรมองค์การว่าเป็น พฤติกรรมที่มีตัวตนเป็นรูปธรรมสัมผัสได้วัดได้ จิตใจของมนุษย์ไม่ได้กำหนดมันขึ้นมาเอง
2.3 เน้นระดับการศึกษาวิเคราะห์ (level of analysis) ที่กลุ่ม / องค์การ
3. เนื่องจากเห็นว่าวัฒนธรรม องค์การเป็นสิ่งที่มีตัวตนเป็นรูปธรรม จึงเชื่อว่าวัฒนธรรมองค์การเป็นสิ่งที่ควบคุมหรือจัดการได้
4. ผู้ก่อตั้งและผู้นำเป็นผู้สร้าง หรือกำหนดวัฒนธรรมองค์การ
5. วัฒนธรรมของแต่ละองค์การมี ลักษณะคล้ายคลึงกัน
6. เน้นข้อมูลที่เป็นพฤติกรรมภาย นอกที่รับรู้จากประสาทสัมผัสทั้งห้า (หู ตา จมูก ลิ้น และสัมผัส) ซึ่งเป็นวัตถุวิสัย
7. เป้าหมายการศึกษาเพื่อใช้ วัฒนธรรมองค์การเป็นเครื่องมือในการจัดการ
แนวทางที่ 2 องค์การเปรียบเสมือนวัฒนธรรม
1. วัฒนธรรมองค์การครอบคลุมเรื่อง ราวทุกส่วนในองค์การ
2. มีความเชื่อพื้นฐานภายใต้ปรัชญา ปรากฏการณ์นิยม (phenomenology) ส่งผลให้
2.1 เน้นวิธีการศึกษาวิจัยเชิง คุณภาพ (quantitative research)
2.2 มองวัฒนธรรมองค์การว่าเป็นค่า นิยม ความคิด ความเชื่อที่อยู่ภายในจิตใจคน
2.3 เน้นระดับการศึกษาวิเคราะห์ทั่ว บุคคลแต่ละคน (individual) กล่าวคือ สนใจค่านิยม ความเชื่อ ความคิดที่อยู่ภายในจิตใจของแต่ละคน
3. เนื่องจากเห็นว่าวัฒนธรรม องค์การเป็นเรื่องความรู้สึกนึกคิดภายในจิตใจคนไม่มีตัวตนเป็นรูปธรรม จึงเชื่อว่าวัฒนธรรมองค์การเป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมหรือจัดการทำได้เพียง พยายามอธิบายหรือตีความหมายของมัน
4. สมาชิกขององค์การทุกคนเป็นผู้ สร้างหรือกำหนดวัฒนธรรมองค์การ
5. วัฒนธรรมของแต่ละองค์การเป็น เอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่ซ้ำกับองค์การอื่นเลย
6. เน้นข้อมูลที่อยู่ภายในความคิด หรือจิตใจของแต่ละคน (ค่านิยม ความเชื่อ ฯลฯ) ซึ่งเป็นอัตวิสัย
7. เป้าหมายการศึกษาเพื่อให้ วัฒนธรรมองค์การเป็นแนวคิดหนึ่งที่ช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับองค์การมาก ขึ้น
แนวทางพัฒนาองค์การ
แนวความคิดในการพัฒนาองค์การ
1. แบบปิระมิดคว่ำ             2. แบบปิระมิดหงายขึ้น
กระบวนการในการพัฒนาองค์การ
1. การรวบรวมข้อมูล (Data collection)
2. การวินิจฉัยเบื้องต้น (Innitial diagnosis)
3. การพิสูจน์ข้อมูล (Data confrontation)
4. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Action planning)
5. การสร้างทีมงาน (Team building)
6. การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม (Intergroup development)
7. การประเมินและติดตามผล (Appraisal and follow – up)
รูปแบบในการพัฒนาองค์การ
1. การฝึกการรับรู้ หรือการฝึกกลุ่มสัมพันธ์
2. การประชุมแบบเผชิญหน้า
3. การแสดงบทบาทเป็นการให้สมาชิกได้อธิบายหน้าที่ของตน
4. กระบวนการให้การปรึกษา
5. การปฏิบัติงานในห้องทดสอบ
6. การประสานงานประโยชน์วิเคราะห์
กลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์การ
กลยุทธ์หมายถึงแนวทางหรือสะพานเชื่อมช่องว่างระหว่างสิ่งที่เราเป็นอยู่ไป สู่สิ่งที่เราต้องการจะเป็นการกำหนดกลยุทธ์ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรนิยมทำ กันใน 2 ลักษณะคือ
1. การเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป จากวัฒนธรรมที่เปลี่ยนได้ง่ายไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยุ่งยาก หรืออาจจะเป็นการสร้างกระแสวัฒนธรรมใหม่กลบกระแสวัฒนธรรมเก่า การเปลี่ยนแปลงจะแทรกซึมอยู่ในทุกกิจกรรม เป็นการสร้างวัฒนธรรมแบบกองโจรเพราะเป็นการเก็บเล็กผสมน้อยไปเรื่อยๆ การเปลี่ยนแปลงแบบนี้จะส่งผลกระทบต่อคนในองค์กรน้อย แต่ต้องใช้ระยะเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่มีอายุยาวนานและมีวัฒนธรรมดั้งเดิมแข็งแกร่ง
2. การเปลี่ยนแบบผ่าตัด เป็นการเปลี่ยนแปลงทันทีทันใด อาจจะมีการเจ็บปวดบ้างในช่วงแรก แต่ได้ผลดีในระยะยาว เพราะทุกอย่างชัดเจน ทุกคนทราบว่าตัวเองจะอยู่ได้หรือไม่ได้ในวัฒนธรรมองค์กรแบบใหม่ หลายองค์กรนิยมยืมมือบุคคลที่สามเข้ามาทำการผ่าตัด บางองค์กรมักจะผ่าตัดเพื่อกำหนดวัฒนธรรมองค์กรไปพร้อมๆกับการผ่าตัดโครง สร้างองค์กร เปรียบเสมือนกับการที่คุณหมอเปลี่ยนทัศนคติของคนไข้เมื่อคนไข้อยู่ในภาวะ เจ็บป่วย เพราะในช่วงเวลานั้นคนไข้มักจะเชื่อฟังคุณหมอมากกว่าตอนที่ร่างกายเป็นปกติ
แนวทางการนำวัฒนธรรมองค์การไปใช้
วัฒนธรรมองค์การใดจะประสบความสำเร็จสูงสุดได้ ผู้บริหารระดับสูงจะต้องกระทำตัวเป็นตัวอย่างก่อน ในขณะเดียวกันต้องมีความตั้งใจจริง และมีความผูกพันอย่างจริงจังในการสร้างให้เกิดบรรยากาศของการควบคุมโดยใช้ วัฒนธรรมองค์การ ที่สำคัญควรมีการปรับวัฒนธรรมองค์การตลอดเวลา เพราะการปลูกฝังค่านิยมให้ฝังแน่นอย่างถาวรอาจทำให้วัฒนธรรมนั้นขาดการพัฒนา ปรับปรุงให้เหมาะสมลงตัวกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

กิจกรรมที่ 7

การจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ   ให้นักศึกษาเปิดไฟล์ข้อมูลและสรุปการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพเป็นอย่างไร และนักศึกษาจะมีวิธีการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพได้อย่างไร  อ่านจากบทความนี้และนำแนวคิดมาใช้ในการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ
ปัจจัยสำคัญของการจัดการชั้นเรียนนอกจากจะอยู่ที่ตัวครูและเทคนิคการสอนของครูแล้ว การจัดการสิ่งแวดล้อมมี่ส่งเสริมการเรียนเพื่อสร้างบรรยากาศทางกายภาพ รวมทั้งการสนับสนุนส่งเสริมให้เด็กสร้างวินัยในการควบคุมตนเองและระงับยับยั้งพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทั้งนักศึกษาครู ครูใหม่หรือแม้แต่ครูที่มีประสบการณ์จะต้องฝึกฝนพัฒนาทักษะและเทคนิคการจัดการการชั้นเรียนจนเรียกได้ว่าเป็นครูมืออาชีพ จึงจะสามารถดำเนินการในชั้นเรียนได้อย่างราบรื่นโดยปราศจากปัญหาอุปสรรคและสามารถแก้ปัญหาต่างๆได้สำเร็จล่วงไปได้ด้วยดี
การที่ครูจะดำเนินการจัดการชั้นเรียนในรูปแบบใดนั้น สิ่งที่ครูควรพิจารณาและคำนึงถึงนอกเหนือจากความเชื่อของครูเองแล้ว รูปแบบของการจัดชั้นเรียนยังต้องเหมาะสมกันสภาพลักษณะนิสัยของนักเรียน ความเชื่อค่านิยม พื้นฐานที่เป็นวัฒนธรรมประเพณีของไทย การยอมรับหรือความคาดหวังของสังคม ชุมชน ผู้ปกครองที่มีต่อนักเรียนและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสังคมประเทศชาติ ดังนั้นหนาที่ของครูมืออาชีพ คือการศึกษาความเป็นไปได้และเลือกแนวทางที่สอดคล้องเหมาะสมทุกๆ ด้านแล้วจึงกำหนดเป็นแนวทางการสร้างวินัยในชั้นเรียนของตนเพราะห้องเรียนแต่ละห้องก็จะมีลักษณะของการจัดการที่แตกต่างกันไปตามบริบทของชุมชนของสถานศึกษาแต่ละแห่ง
ดังนั้นการนำแนวคิดมาใช้ในการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ คือ การจัดสภาพห้องเรียนทางด้านกายภาพหรือการตกแต่งภายในห้องในน่าเรียนน่าสนใจแก่ผู้เรียนเพื่อเป็นการกระตุ้นในผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ จัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนให้สอดคล้องกับการเรียนการสอนเพื่อช่วยสร้างบรรยากาศให้น่าสนใจและจูงใจให้ผู้เรียนไม่เบื่อหน่ายต่อการเรียนและการใช้สื่อเป็นสื่อที่ครูสามารถใช้ในการจัดชั้นเรียนได้อย่างเหมาะสม อาจจะเป็นการใช้สื่อด้วยคำพูดหรืออาจจะสื่อสารโดยท่าทางกิริยาการแสดงออก การตั้งเงื่อนไขในห้องเรียนควรจัดเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนคำนึงถึงจิตใจของผู้เรียนไม่ควรผูกขาดจนเกินไปและที่สำคัญบุคลิกภาพครูควรเป็นกันเองกับเด็กและความสามารถในการสื่อสารให้นักเรียนเข้าใจยอมรับกฎกติกาของการอยู่ส่วนร่วมกันในชั้นเรียน