วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 8

เรื่อง วัฒนธรรมองค์การ(Organaization Culture)
ให้ นักศึกษา สรุปความหมาย วัฒนธรรมองค์การ
แนวคิดเกี่ยวกับองค์การ
แนวทางพัฒนาองค์การ
กลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์การ
แนวทางการนำวัฒนธรรมองค์การไปใช้
โดยให้นักศึกษาศึกษาค้นคว้าโดยใช้ Internet และเอกสารห้องสมุดให้ตรงกับหัวเรื่องตามที่อาจารย์กำหนดให้มา สรุปเป็นความคิดของนักศึกษาและอ้างอิงแหล่งที่ค้นคว้าด้วย
สรุป วัฒนธรรมองค์การ คือ
วัฒนธรรมองค์การเป็นสิ่งสร้างขึ้นในองค์การ ซึ่งมีทั้งสิ่งที่แสดงออกอย่างชัดแจ้ง สามารถจับต้องได้ และสิ่งที่ซ่อนอยู่ภายในวัฒนธรรมเป็นระบบคุณค่าและความเชื่อร่วมกันของ องค์การซึ่งจะกำหนดพฤติกรรของสมาชิก ทั้งในเรื่องการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมขององค์การและกระบวนการในการทำงานองค์การทุกองค์การจะสร้างและพัฒนาวัฒนธรรมของตนเองและแสดงถึงวัฒนธรรมผ่าน การทำงาน การประพฤติปฏิบัติของสมาชิกในองค์การ ตลอดจนผ่านโครงสร้างองค์การ การออกแบบและจัดสำนักงานขององค์การ
แนวคิดเกี่ยวกับองค์การ
แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์การ 2 แนวทางหลัก คือ
แนวทางที่ 1 วัฒนธรรม เป็นตัวแปรตัวหนึ่ง
1. วัฒนธรรมองค์การเป็นเพียงตัวแปร ตัวหนึ่งในบรรดาตัวแปรหลายตัวในองค์การ
2. มีความเชื่อพื้นฐานภายใต้ปรัชญา ปฏิฐานนิยม (Positivism) ส่งผลให้
2.1 เน้นวิธีการศึกษาวิจัยเชิง ปริมาณ (quantitative research)
2.2 มองวัฒนธรรมองค์การว่าเป็น พฤติกรรมที่มีตัวตนเป็นรูปธรรมสัมผัสได้วัดได้ จิตใจของมนุษย์ไม่ได้กำหนดมันขึ้นมาเอง
2.3 เน้นระดับการศึกษาวิเคราะห์ (level of analysis) ที่กลุ่ม / องค์การ
3. เนื่องจากเห็นว่าวัฒนธรรม องค์การเป็นสิ่งที่มีตัวตนเป็นรูปธรรม จึงเชื่อว่าวัฒนธรรมองค์การเป็นสิ่งที่ควบคุมหรือจัดการได้
4. ผู้ก่อตั้งและผู้นำเป็นผู้สร้าง หรือกำหนดวัฒนธรรมองค์การ
5. วัฒนธรรมของแต่ละองค์การมี ลักษณะคล้ายคลึงกัน
6. เน้นข้อมูลที่เป็นพฤติกรรมภาย นอกที่รับรู้จากประสาทสัมผัสทั้งห้า (หู ตา จมูก ลิ้น และสัมผัส) ซึ่งเป็นวัตถุวิสัย
7. เป้าหมายการศึกษาเพื่อใช้ วัฒนธรรมองค์การเป็นเครื่องมือในการจัดการ
แนวทางที่ 2 องค์การเปรียบเสมือนวัฒนธรรม
1. วัฒนธรรมองค์การครอบคลุมเรื่อง ราวทุกส่วนในองค์การ
2. มีความเชื่อพื้นฐานภายใต้ปรัชญา ปรากฏการณ์นิยม (phenomenology) ส่งผลให้
2.1 เน้นวิธีการศึกษาวิจัยเชิง คุณภาพ (quantitative research)
2.2 มองวัฒนธรรมองค์การว่าเป็นค่า นิยม ความคิด ความเชื่อที่อยู่ภายในจิตใจคน
2.3 เน้นระดับการศึกษาวิเคราะห์ทั่ว บุคคลแต่ละคน (individual) กล่าวคือ สนใจค่านิยม ความเชื่อ ความคิดที่อยู่ภายในจิตใจของแต่ละคน
3. เนื่องจากเห็นว่าวัฒนธรรม องค์การเป็นเรื่องความรู้สึกนึกคิดภายในจิตใจคนไม่มีตัวตนเป็นรูปธรรม จึงเชื่อว่าวัฒนธรรมองค์การเป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมหรือจัดการทำได้เพียง พยายามอธิบายหรือตีความหมายของมัน
4. สมาชิกขององค์การทุกคนเป็นผู้ สร้างหรือกำหนดวัฒนธรรมองค์การ
5. วัฒนธรรมของแต่ละองค์การเป็น เอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่ซ้ำกับองค์การอื่นเลย
6. เน้นข้อมูลที่อยู่ภายในความคิด หรือจิตใจของแต่ละคน (ค่านิยม ความเชื่อ ฯลฯ) ซึ่งเป็นอัตวิสัย
7. เป้าหมายการศึกษาเพื่อให้ วัฒนธรรมองค์การเป็นแนวคิดหนึ่งที่ช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับองค์การมาก ขึ้น
แนวทางพัฒนาองค์การ
แนวความคิดในการพัฒนาองค์การ
1. แบบปิระมิดคว่ำ             2. แบบปิระมิดหงายขึ้น
กระบวนการในการพัฒนาองค์การ
1. การรวบรวมข้อมูล (Data collection)
2. การวินิจฉัยเบื้องต้น (Innitial diagnosis)
3. การพิสูจน์ข้อมูล (Data confrontation)
4. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Action planning)
5. การสร้างทีมงาน (Team building)
6. การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม (Intergroup development)
7. การประเมินและติดตามผล (Appraisal and follow – up)
รูปแบบในการพัฒนาองค์การ
1. การฝึกการรับรู้ หรือการฝึกกลุ่มสัมพันธ์
2. การประชุมแบบเผชิญหน้า
3. การแสดงบทบาทเป็นการให้สมาชิกได้อธิบายหน้าที่ของตน
4. กระบวนการให้การปรึกษา
5. การปฏิบัติงานในห้องทดสอบ
6. การประสานงานประโยชน์วิเคราะห์
กลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์การ
กลยุทธ์หมายถึงแนวทางหรือสะพานเชื่อมช่องว่างระหว่างสิ่งที่เราเป็นอยู่ไป สู่สิ่งที่เราต้องการจะเป็นการกำหนดกลยุทธ์ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรนิยมทำ กันใน 2 ลักษณะคือ
1. การเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป จากวัฒนธรรมที่เปลี่ยนได้ง่ายไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยุ่งยาก หรืออาจจะเป็นการสร้างกระแสวัฒนธรรมใหม่กลบกระแสวัฒนธรรมเก่า การเปลี่ยนแปลงจะแทรกซึมอยู่ในทุกกิจกรรม เป็นการสร้างวัฒนธรรมแบบกองโจรเพราะเป็นการเก็บเล็กผสมน้อยไปเรื่อยๆ การเปลี่ยนแปลงแบบนี้จะส่งผลกระทบต่อคนในองค์กรน้อย แต่ต้องใช้ระยะเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่มีอายุยาวนานและมีวัฒนธรรมดั้งเดิมแข็งแกร่ง
2. การเปลี่ยนแบบผ่าตัด เป็นการเปลี่ยนแปลงทันทีทันใด อาจจะมีการเจ็บปวดบ้างในช่วงแรก แต่ได้ผลดีในระยะยาว เพราะทุกอย่างชัดเจน ทุกคนทราบว่าตัวเองจะอยู่ได้หรือไม่ได้ในวัฒนธรรมองค์กรแบบใหม่ หลายองค์กรนิยมยืมมือบุคคลที่สามเข้ามาทำการผ่าตัด บางองค์กรมักจะผ่าตัดเพื่อกำหนดวัฒนธรรมองค์กรไปพร้อมๆกับการผ่าตัดโครง สร้างองค์กร เปรียบเสมือนกับการที่คุณหมอเปลี่ยนทัศนคติของคนไข้เมื่อคนไข้อยู่ในภาวะ เจ็บป่วย เพราะในช่วงเวลานั้นคนไข้มักจะเชื่อฟังคุณหมอมากกว่าตอนที่ร่างกายเป็นปกติ
แนวทางการนำวัฒนธรรมองค์การไปใช้
วัฒนธรรมองค์การใดจะประสบความสำเร็จสูงสุดได้ ผู้บริหารระดับสูงจะต้องกระทำตัวเป็นตัวอย่างก่อน ในขณะเดียวกันต้องมีความตั้งใจจริง และมีความผูกพันอย่างจริงจังในการสร้างให้เกิดบรรยากาศของการควบคุมโดยใช้ วัฒนธรรมองค์การ ที่สำคัญควรมีการปรับวัฒนธรรมองค์การตลอดเวลา เพราะการปลูกฝังค่านิยมให้ฝังแน่นอย่างถาวรอาจทำให้วัฒนธรรมนั้นขาดการพัฒนา ปรับปรุงให้เหมาะสมลงตัวกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น